การให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตย กับความแตกต่างหลากหลายในสังคม
ความเท่า เทียมในสังคม เป็นคุณลักษณะสำคัญของรัฐที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากแม้ว่าพลเมืองในรัฐนั้นจะมีกลุ่มที่แตกต่างหลากหลายทั้งทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ภาษา และศาสนา แต่กลุ่มพลเมืองเหล่านั้นย่อมถือเป็นโครงสร้างของรัฐ ดังนั้น รัฐจึงต้องให้ความสำคัญในการที่จะเรียนรู้ถึงประสบการณ์ มองความคาดหวังและความฝันของกลุ่มต่างๆ เพื่อที่จะหาแนวทางในการพัฒนาให้พลเมืองเหล่านั้นเกิดความไว้วางใจและความ ผูกพันลึกซึ้งต่อรัฐ โดยเป็นไปตามลักษณะพื้นฐานของแต่ละกลุ่ม ประเด็นความแตกต่างหลากหลาย จึงเป็นประเด็นท้าทายต่อการให้การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Citizenship education) ในปัจจุบัน
ด้วยการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้การศึกษาในประเด็นดังกล่าว คณะสมานฉันท์ด้านการศึกษาระดับโลก ความเป็นพลเมือง และความแตกต่างหลากหลาย ภายใต้ศูนย์การศึกษาสหวัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน โดยการสนับสนุนของ Spenser Foundation จึงเกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาชุดของหลักการ แนวคิด และแนวทางการดำเนินการด้านการให้ความรู้เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (civic education) เพื่อให้ครู/อาจารย์ได้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการให้ความรู้เพื่อ สร้างความเป็นพลเมือง ที่สามารถสร้างสมดุลย์ในความแตกต่างหลากหลาย (diversity) และ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว (unity) เพื่อเตรียมความพร้อมให้เยาวชนสามารถพัฒนาสู่การเป็นพลเมืองที่มี ประสิทธิภาพ (effective citizens) ภายใต้ของบริบทสังคมโลกในปัจจุบันได้
ทรัพยากรที่สำคัญประการหนึ่งที่ใช้ในการสนับสนุนการทำงานของคณะทำงานดัง กล่าว คือรายงานการศึกษาที่มีชื่อว่า “Diversity and Citizenship Education: Global Perspectives” ในรายงานการศึกษาฉบับนี้ ได้ระบุถึงแนวคิดและหลักการที่ครูผู้สอนควรนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรการสอน เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองและความแตกต่างหลากหลายให้แก่เยาวชน ซึ่งประกอบด้วย แนวคิด 10 ประการ ที่ผู้สอนต้องให้ความรู้ ได้แก่
1. ประชาธิปไตย
2. ความแตกต่างหลากหลาย
3. โลกาภิวัฒน์
4. การพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. จักวรรดิ, ลัทธิจักรวรรดินิยม และอำนาจ
6. อคติ, การเลือกปฏิบัติ และการเหยียดเชื้อชาติ
7. การอพยพ
8. อัตลักษณ์
9. ความหลากหลายทางความคิด
10. ลัทธิชาตินิยม และ สากลนิยม
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ หลักการ 4 ประการ ที่ผู้สอนควรยึดถือเพื่อนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรการสอนดังต่อไปนี้
2. ความแตกต่างหลากหลาย
3. โลกาภิวัฒน์
4. การพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. จักวรรดิ, ลัทธิจักรวรรดินิยม และอำนาจ
6. อคติ, การเลือกปฏิบัติ และการเหยียดเชื้อชาติ
7. การอพยพ
8. อัตลักษณ์
9. ความหลากหลายทางความคิด
10. ลัทธิชาตินิยม และ สากลนิยม
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ หลักการ 4 ประการ ที่ผู้สอนควรยึดถือเพื่อนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรการสอนดังต่อไปนี้
1. ผู้เรียนควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างความเป็นอัน หนึ่งอันเดียว (Unity) กับ ความแตกต่างหลากหลาย (Diversity) ภายในชุมชนท้องถิ่น ในประเทศของเขา และในสังคมโลก ผู้เรียนควรได้รับความเข้าใจมากขึ้นถึงความชัดเจนของความหมายและความเชื่อม โยงระหว่างแนวคิดของ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับ ความแตกต่างหลากหลาย โดย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว หมายถึง การมีข้อผูกมัดร่วมกันของพลเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการทำ หน้าที่ของรัฐ ส่วนความแตกต่างหลากหลายหมายถึง ความแตกต่างของพลเมืองภายในรัฐชาติทั้งหมด เช่น เชื้อชาติ ชนชั้น กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา เพศ ผู้พิการ และ ความเบี่ยงเบนทางเพศ เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแม้ว่าหลักการที่ว่าด้วยความสมดุลย์ระหว่างความเป็นหนึ่ง เดียวท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายนั้นจะได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่การแสดงออกซึ่งหลักการดังกล่าวยังมีความแตกต่างในแต่ละประเทศ และภูมิภาค
ดังนั้น การให้การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองจึงสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้ พิเคราะห์ถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับ ความแตกต่างหลากหลายว่า 1) รัฐของเขาและรัฐอื่นๆ จัดการกับความไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มต่าง ๆในสังคมอย่างไร 2) รัฐของเขาและรัฐอื่นๆ จัดการกับขอบเขตของความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับ ความแตกต่างหลากหลาย อย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ 3) รัฐของเขาและรัฐอื่นๆ ระบุความเป็นพลเมืองด้วยอะไร และกำหนดเกณฑ์ในการได้มาซึ่งความเป็นพลเมืองของรัฐอย่างไร 4) สมาชิกของรัฐต่าง ๆ จัดการกับอัตลักษณ์ที่หลากหลายของปัจเจกบุคคลอย่างไร
ดังนั้น การให้การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองจึงสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้ พิเคราะห์ถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับ ความแตกต่างหลากหลายว่า 1) รัฐของเขาและรัฐอื่นๆ จัดการกับความไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มต่าง ๆในสังคมอย่างไร 2) รัฐของเขาและรัฐอื่นๆ จัดการกับขอบเขตของความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับ ความแตกต่างหลากหลาย อย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ 3) รัฐของเขาและรัฐอื่นๆ ระบุความเป็นพลเมืองด้วยอะไร และกำหนดเกณฑ์ในการได้มาซึ่งความเป็นพลเมืองของรัฐอย่างไร 4) สมาชิกของรัฐต่าง ๆ จัดการกับอัตลักษณ์ที่หลากหลายของปัจเจกบุคคลอย่างไร
2. ผู้เรียนควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีทางที่ประชาชนในชุมชน ประเทศ และภูมิภาคมีการพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น และเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ รวมทั้งความเชื่อมโยงต่อเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลก ด้วยความเชื่อมโยงถึงกันระหว่างประเทศต่างๆ ในโลกปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจไม่ส่งผลเฉพาะภายในประเทศของตนอีกต่อไป ทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่จะต้องทำความเข้าใจต่อสถานการณ์ หรือประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลก ดังนั้น ผู้เรียนต้องได้รับความเข้าใจว่า พวกเขา ชุมชน ประเทศ และภูมิภาคของพวกเขานั้น มีอิทธิพลและได้รับอิทธิพลจากประชาชน NGOs องค์กรธุรกิจ พันธมิตรในภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลกอย่างไร ต้องพิเคราะห์ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ แห่งหนึ่งของโลกสามารถส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ไปรอบโลกได้อย่างไร เช่น ปัญหาความยากจนในคิวบา การเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตยในแอฟริกา การเพิ่มขึ้นของรัฐอิสลาม นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรม ความขัดแข้งด้านเชื้อชาติ พันธมิตรทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม เหล่านี้ ล้วนเป็นประเด็นที่สามารถนำมาเลือกใช้ในการสอนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในโลก ที่เชื่อมโยงต่อชุมชนท้องถิ่นได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้นักเรียนสามารถพิเคราะห์ถึงพลังของปัจเจกบุคคล และกลุ่มต่าง ๆ ที่สามารถมีต่อการเปลี่ยนแปลงและการแก้ไขประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยการอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาคในโลก
3. การสอนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ควรเป็นประเด็นพื้นฐานของหลักสูตรการให้การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน เป็นค่านิยมพื้นฐานที่ควรปลูกฝังให้แก่เยาวชนเมื่อจะเริ่มมีการสอนเรื่อง ความเป็นพลเมือง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะการให้การศึกษาและปลูกฝังค่านิยมเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการให้องค์ความรู้ที่เกิดจากการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน กับผู้เรียน และเป็นการสร้างลักษณะพื้นฐานทางสังคมที่พึงปรารถนาภายในโรงเรียนด้วย ดังเช่น การนำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าทุกคนมีสิทธิโดยเสมอภาคเต็มที่ในอันที่จะได้รับการ พิจารณาที่เป็นธรรม (ม.10) และทุกคนควรรับฟังความเห็นของผู้อื่นแม้จะเป็นความเห็นที่ขัดแย้งหรือแตก ต่างกับความเห็นตน (ม.19) รวมทั้งเรียกร้องให้ทุกคนเคารพต่อความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ความเชื่อทางศาสนาของแต่ละบุคคล (ม.12 และ ม.18) มาเป็นค่านิยมที่พึงยึดถือและพึงปฏิบัติในโรงเรียน เป็นต้น
4. ผู้เรียนควรได้รับองค์ความรู้ในเรื่องประชาธิปไตย และสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการทดลองปฏิบัติตามกระบวนการและวิถีประชาธิปไตยเพื่อ สร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วย ความรู้และประสบการณ์เป็นองค์ประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญของการให้การศึกษาตามหลักการนี้ ดังนั้น ผู้เรียนควรได้รับความรู้จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงที่เกี่ยวกับประเด็น ประชาธิปไตยในโลก เช่น เงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งเพื่อดำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย และเงื่อนไขที่อาจเป็นการกัดเซาะประชาธิปไตย, การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในสังคม อันเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางประชาธิปไตย เพราะหากเยาวชนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเหล่านั้น ย่อมทำให้เยาวชนได้ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว ดังที่ได้รับความรู้มา เพราะการกระทำที่ปราศจากความเข้าใจอาจเป็นการกระทำที่สะเพร่าและก่อให้เกิด เป็นผลเสียมากกว่าผลดีได้ ..............
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น